วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลวงปู่สี ฉันทสิริ

ประวัติหลวงปู่สี ฉันทสิริ พระอรหันต์ 7 แผ่นดิน


หลวง ปู่สีท่านเป็นชาวอำเภอรัตนะ จังหวัดสุรินทร์ ท่านเกิดเมื่อปีจอ พ.ศ.๒๓๙๒ตรงกับสมัยของรัชกาลที่๓(แต่หนังสือส่วนมากจะลงรัชกาลผิดจะลงเป็น รัชกาลที่ ๔ ทั้งที่ความเป็นจริงองค์รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต ปี ๒๓๙๔ ซึ่งหลวงปู่ท่านเกิดก่อนรัชกาลที่๓ เสด็จสวรรคตถึง ๒ ปี พวกหนังสือที่ลงไม่ค่อยตรวจสอบนึกจะลงก็ลงทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญแท้ ๆ น่าจะตรวจสอบก่อนลง)ส่วนเกิด วัน เดือน ใด ท่านไม่เคยบอก พ่อแม่ของหลวงปู่มีลูกทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นคนโต และแต่เดิมท่านไม่ได้ชื่อ สี ท่านชื่อ ลีเมื่อมีการใช้นามสกุลขึ้นตระกูลของท่านก็ใช้นามสกุลว่า “ดำริ”

ชีวิตในวัยเด็ก ท่านได้เติบโตขึ้นท่ามกลางกลิ่นไอของป่า ได้ติดตามพ่อของท่านล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารและเก็บของป่าเพื่อไปขายนำ เงินซื้อข้าวของ จนกระทั่งท่านได้อายุ ๑๑ ปี พ่อของท่านได้นำท่านไปฝากกับพระธุดงค์ซึ่งเคยเป็นสหายเก่าของพ่อท่าน ซึ่งเมื่อพระธุดงค์ได้เห็นหลวงปู่สีแล้วก็ถึงกับออกปากขอท่านไปดูแล ซึ่งพ่อของหลวงปู่สีก็ยกให้ ดังนั้นท่านถึงต้องตามพระธุดงค์ตระเวนธุดงค์ด้วยกัน เรียกว่าค่ำไหนนอนนั่น จากป่าดงดิบจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งมาถึงเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) ท่านได้พาหลวงปู่สีมากราบสักการะ พระสหธรรรมิกของท่านคือ ขรัวโต (พระเทพกวี) ซึ่งท่านก็คือ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๓ ซึ่งพระอาจารย์อินกับสมเด็จโต เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือหลวงตาแสง จังหวัดลพบุรี จึงสนิทกันมาก เมื่อสมเด็จโตท่านได้เห็นรูปร่างลักษณะของหลวงปู่สี ก็ยินดีนักด้วยบุคลิก ลักษณะของท่านเป็นที่ถูกใจยิ่งนัก จึงได้รับหลวงปู่สีเป็นศิษย์ สมเด็จโตท่านก็ได้อบรมข้อธรรม ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอักขระขอมไทย และคาถาอาคมต่าง ๆ รวมทั้งการปฏิบัติสมาธิจิต จนแตกฉาน ที่ท่านเรียนรู้ง่ายเป็นเพราะว่าท่านมีพื้นฐานมากจากพระอาจารย์อินได้สอน นั่นเอง ซึ่งต่อมาสมเด็จฯโต ท่านได้เลื่อนลำดับจาก พระเทพกวี เป็น สมเด็จพุฒาจารย์ ทางวัดระฆังก็มีการบวชพระและเณรจำนวน ๑๐๘ รูป พร้อมด้วยบวชชีพราหณ์อีกมากมายเพื่อฉลองตำแหน่งโดยมีสมเด็จฯโตเป็นพระ อุปัชฌาย์ ซึ่งในการบวชเณรนั้นได้มีหลวงปู่สีรวมอยู่ด้วย ซึ่งได้บวชในพุทธศักราช ๒๔๐๗ ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่สีมีอายุได้ ๑๕ ปีหลังจากที่ได้บวชเป็นเณรแล้วท่านก็ได้อยู่วัดระฆังเพื่อเรียนวิชากับ สมเด็จโต ซึ่งรวมถึงการทำผงวิเศษทั้งห้าประการอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีอยู่ในพระเครื่องของสมเด็จฯ (มีมูลค่านับล้านบาท และถือเป็นจักรพรรดิ์พระเครื่อง) จนกระทั่ง ปี ๒๔๑๑ องค์รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จสวรรคต ทำให้สมเด็จฯโตจะเก็บตัวเงียบไม่ค่อยจะออกมาพบปะญาติโยมเท่าใดนัก ในช่วงนี้หลวงปู่สี จึงไม่ค่อยได้ติดตามรับใช้สมเด็จฯโต เท่าใดนัก ประกอบกับพระอาจารย์อินทร์กลับจากธุดงค์มาแวะเยี่ยมสมเด็จฯโต หลวงปู่สี จึงขออนุญาตสมเด็จฯ กลับไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ พร้อมกับพระอาจารย์อินทร์ ตอนนี้หลวงปู่สีหรือสามเณรลี ได้เริ่มโตเป็นหนุ่มรูปร่างสูงใหญ่ สง่างาม ผิวพรรณดี ผิดกับเด็กหนุ่มทั่วไป เมื่อกลับมาเห็นสภาพครอบครัวซึ่งมีความลำบาก ก็ขออนุญาตพระอาจารย์อินทร์ สึกออกมาเพื่อช่วยเหลือครอบครัว พระอาจารย์อินทร์ได้ตรวจดูชะตาของหลวงปู่สี ซึ่งขณะนั้นอายุย่าง ๑๙ ปี ว่าชะตาจะต้องเกี่ยวพันกับทางโลก เมื่อพ้นภาวะกรรม ก็จะบวชไม่สึกและสำเร็จในบั้นปลายชีวิต จึงให้สึกตามคำขอ ชีวิตตอนเป็นหนุ่มท่านเป็นคนจริงไม่เคยเกรงกลัวใครนอกจากทำไร่ทำนาแล้วท่าน ยังมีอาชีพรับจ้างคุมฝูงวัวไปขายข้ามจังหวัด ต่อมาปี ๒๕๑๖ หลวงปู่สีได้ถือโอกาสมาร่วมงานอุปสมบทเป็นพระขององค์รัชกาลที่ ๕ เลยได้มีโอกาสมาพักที่วัดระฆัง และทำให้ท่านได้ทราบว่าสมเด็จฯโตซึ่งเป็นองค์อาจารย์ของท่านได้มรณะภาพไป แล้ว เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน๒๔๑๕ หลังจากองค์รัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ได้ ๕ ปี

ต่อมาเมื่อปี ๒๔๑๘ มีกบฏฮ่อเกิดขึ้น หลวงปู่สีก็ได้กาสาสมัครเป็นทหารเพื่อไปร่วมรบกับเขาด้วย ปรากฏว่าท่านได้รับเลือกให้อยู่ในหน่วยอาสากล้าตายระดับแนวหน้าซึ่งตอนนั้น เจ้าพระยาภูธราภัยเป็นแม่ทัพ ภายหลังสามารถปราบกบฏฮ่อลงได้ ท่านได้รับความดีความชอบอย่างมากได้ยศเป็นหัวหมู่ และได้เป็นคนสนิทกับเจ้าพระยาภูธราภัยอีกด้วย ซึ่งเจ้าพระยาได้เรียกหลวงปู่สีในตอนนั้นว่า “ไอ้เสือหาญ” เพราะศึกปราบฮ่อเจ้าพระยาได้เห็นประจักษ์ตาว่า ทหารลี หนังดีเหนียว ใจกล้า ตอนหลังได้รับเลื่อนให้เป็นตำรวจหลวงคอยติดตามขบวนเสด็จ ฯ 

หลวงปู่สีท่านใช้ชีวิตความเป็นหนุ่มอยู่นานหลายปี จนกระทั่งบังเกิดความเบื่อหน่ายทางโลกจึงได้อุปสมบท โดยท่านบอกว่า ท่านบวชที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านเส้า (อำเภอบ้านหมี่ในปัจจุบัน) โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ส่วนคู่สวดท่านไม่ได้บอกว่ามีพระอาจารย์รูปใดบ้างเมื่อบวช ได้ระยะหนึ่งท่านได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาเสียบ เขตตำบลช่องแคอำเภอตาคลี เพราะว่าก่อนบวชท่านเคยอยู่ในเขตนี้มาก่อน หลวงปู่สีท่านถือปฏิบัติในการออกธุดงค์ ตลอดเวลาที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงหลวงปู่สีท่านบอกว่าท่านธุดงค์ไป ทั่วประเทศไทย จากเหนือถึงใต้ตะวันออกถึงตะวันตก ท่านไปมาทั้งหมดเคยธุดงค์ไปฝั่งประเทศลาวจำพรรษาอยู่ในประเทศลาวหลายปี ธุดงค์เข้าประเทศพม่าเลยไปประเทศอินเดียไปนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ท่านยังเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปภาคเหนือ เพื่อจะไปนมัสการพระบาทสี่รอย เมืองเชียงตุง ประเทศพม่าท่านเดินหลงป่าไม่ได้ฉันอะไรเลยเป็นเวลา ๗ วัน จนรุ่งเช้าของวันที่ ๘มีช้างป่านำหัวบัว และอ้อยมาถวายท่าน (ไม่ทราบว่าเป็นเทวดาหรือว่าเทวานุภาพดลใจให้ช้างนำมาถวาย ?) ท่านจึงนำหัวบัวต้มกับน้ำอ้อยฉันและช้างยังเดินนำทางท่านไปจนพบกับบ้านของ ชาวบ้านป่า ท่านเล่าว่าท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่าแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ พบชายหญิงกำลังกินอะไรกันอยู่ท่านจึงเดินไปถามว่า ทำอะไรกันอยู่หรือทั้งสองก็ตอบหลวงปู่สีว่ากำลังกินยาอายุวัฒนะกันอยู่แต่ หลวงพ่อมาช้าไปยาหมดเสียแล้วจะมีเหลืออยู่ก็ตามใบไม้เท่านั้นเองและทั้งสอง คนก็เก็บยาที่ติดอยู่ตามใบไม้ให้ท่านฉัน ซึ่งมีอยู่เล็กน้อยเท่านั้นท่านบอกว่าที่ท่านมีอายุยืนก็เพราะยานี้แหละ และยานี้ยังทำให้ท่านมีร่างกายแข็งแรงไม่หลงลืมเหมือนคนแก่ทั่วๆไปในการ ธุดงค์ของท่านนั้นต้องเรียกว่า ยอมตายในผ้าเหลืองเลยทีเดียว หลวงปู่เองได้พบกับอาถรรพ์ในป่ามากมายยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ร้าย ผีป่า แม้กระทั่งเทวดามาขอฟังธรรมจากท่านเสมอ และระหว่างที่ธุดงค์นั้นหลวงปู่สีเองได้พบกับพระเกจิที่มีชื่อเสียงต่อมาใน อนาคตมากมาย และได้พบปะสนทนาธรรมจนเป็นพระสหธรรมิกที่สนิทกันมากได้แก่ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติการามจ.พระนครศรีอยุธยา และที่สำคัญท่านยังเคยได้ร่วมเดินธุดงค์กับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานที่มีลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศ และตัวท่านยังเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อ ปาน วัดคลองด่านผู้ที่สร้างเขี้ยวเสือจนโด่งดังและมีราคาแพงอันดับหนึ่งด้วย และท่านเองก็ได้พบกับพระที่มาขอเป็นศิษย์ ในช่วงระหว่างธุดงค์ ซึ่งต่อมามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ได้แก่ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ (ท่านได้พบกับหลวงปู่สีก่อนที่จะพบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.ชัยนาท หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท เมื่อท่านอายุมากขึ้นท่านก็ไม่ได้ธุดงค์อีก
เนื่องจากพระอาจารย์สมบูรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค ต้องการจะสร้างวัดให้รุ่งเรือง ซึ่งตอนนั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย ว่ากันว่า พระอาจารย์สมบูรณ์ได้ไปปรึกษา ปู่โทน หลำแพร(ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระครูเทพโลกอุดร) ฆราวาสผู้มีอาคมสูง ซึ่งปู่โทนหลำแพร ได้แนะนำให้ไปนิมนต์หลวงปู่สี ซึ่งตอนนั้น ท่านอยู่ที่บ้านหนองพุก ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ตอนที่ยกขบวนไปรับหลวงปู่สีนั้น หลวงปู่ท่านรู้ล่วงหน้าว่าจะมีผู้มารับไปสร้างวัดท่านจึงเตรียมตัวคอยอยู่ แล้ว ทำให้ทุกคนที่ไปนิมนต์หลวงปู่ต่างแปลกใจไปตาม ๆ กัน หลวงปู่ท่านมาอยู่ที่วัดเมื่อปี ๒๕๑๒ ท่านอยู่ที่วัดนี้จนกระทั่งท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ รวมท่านอยู่วัดถ้ำเขาบุญนาค เป็นเวลา ๘ ปี
ความน่าอัศจรรย์ใจเกี่ยวกับหลวงปู่สี
  1. ท่านเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต 
  2. ท่านเป็นสหธรรมิกที่สนิทที่สุดของพระเถระอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ถึง2 องค์คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งพระเครื่องของทั้งสององค์นี้ ก็ติดอยู่ในเบญจภาคีเหรียญซึ่งมีมูลค่านับล้านบาทและอีกองค์ก็คือ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ผู้ที่สร้างเขี้ยวเสือ ซึ่งมีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งในเมืองไทย
  3. ท่านอายุยืนถึง128 ปี และที่สำคัญท่านอยู่มาถึง7 แผ่นดิน คือตั้งแต่รัชกาลที่3 ถึงรัชกาลปัจจุบัน
  4. ท่านเป็นอาจารย์ของพระอรหันต์หลายองค์เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่บุดดา หลวงปู่เย็น เป็นต้น
  5. พระเครื่องของท่านมีอภินิหารมาก